วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความหลากหลายทางชีวภาพ (1)

1. ความหลากหลายของพันธุกรรม
ไก่พื้นเมืองจึงเป็นไก่ที่วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพันธุ์มาโดยอาศัยพื้นฐานของธรรมชาติเป็นหลัก จึงทำให้ไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็จะมีจุดเด่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว เข่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ความสำคัญของไก่พื้นเมือง. (ม.ป.ป).
การปรับปรุงสายพันธุ์ของไก่
2. ความหลากหลายของชนิด
อุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพะงัน ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ อำเภอเกาะพะงัน ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะ สมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี 80 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนทอดยาวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ มีที่ราบตามหุบเขาและบริเวณอ่าวต่างๆ รอบเกาะ โดยมียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาหรา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 627 เมตร มีป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของเกาะพะงัน ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ได้แก่ เกาะพะงัน เกาะแตนอก เกาะแตใน เกาะม้า เกาะตุ้งกู เกาะตุ้งกา หมู่เกาะว่าว และหินใบ ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะพะงันไปทางทิศเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติทางทะเลในประะเทศไทยภาคใต้. (2552).
ความหลากหลายที่ธรรมชาติสร้างขึ้น
3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ
ทุ่งดอกบัวสวรรค์(ทุ่งดอกกระเจียว) ทุ่งบัวสวรรค์ที่อุทยานแห่งชาติไทรทองมีทั้งดอกสีชมพู และสีขาวซึ่งกระเจียวสีขาวบริสุทธิ์นี้หาดูได้ไม่ง่ายนัก ทุ่งกระเจียวจะมีมากบริเวณสันเขาพังเหยด้านทิศตะวันตก มีทั้งหมด 5 ทุ่งใหญ่ ๆ อยู่*งที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 12 กม. จะออกดอกสวยงามเต็มทุ่งประมาณในช่วงฤดูฝนระหว่างปลาย เดือนมิถุนายน ถึงกลางเดือน สิงหาคมของทุกปี จะออกดอกเต็มสะพรั่งช่วงใดก็ขึ้นอยู่สภาพภูมิอากาศ และปริมาณน้ำฝนของแต่ละปี ทางอุทยานฯ ได้จัดให้มีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยได้จัดให้มีรถบริการของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อขนส่งนักท่องเที่ยวขึ้นสู่ยอดเขาระยะทาง 10 กิโลเมตร มีเจ้าหน้าที่นำทางพานักท่องเที่ยวเดินศึกษาธรรมชาติและชมความงามทุ่งกระเจียวหรือบัวสวรรค์ที่บานชูช่อ สีสดสวยงามแซมหญ้าเพ็ก ท่ามกลางแมกไม้ขุนเขาและไอหมอก ที่เย็นสบายท่ามกลางแม่ไม้ขุนเขาและไอหมอกที่เย็นสบาย ในช่วงฤดูหนาวระหว่าง เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม-มกราคม บริเวณทุ่งบัวสวรรค์ทั้ง 5 ทุ่ง จะมีพันธ์ไม้ชนิดอื่นๆ แข่งขันกันออกดอกทั้งสีม่วง สีชมพู สีส้ม และสีเหลืองสวยงาม เช่น ดอกดุสิตา สร้อยสุวรรณา จุกนารีหรือเอ็นอ้า กระดุมเงิน กระดุมทอง เอื้องนวลจันทร์ หงอนไก่แจ้ สามพันตึง ดวงเรืองภู เป็นต้น
บันทึกความทรงจำ...หนึ่งปีที่เก็บรับความสุขจากการท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติ. (2546).
ความสวยงามของดอกไม้
4. การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
มีซอกหลืบ และโพรงถ้ำมากมาย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประจำถิ่น 3 ใน 4 ชนิดของไทย ยกเว้นสมันเพราะได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เขาหินปูนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตประจำถิ่นโดยแท้
ไหน ๆ ก็ไหนๆ แล้ว ขอแถมพันธุ์ไม้ให้อีกหน่อย. (2551).
สัตว์ต้องเปลี่ยนที่อยู่อาศัยเพราะการสูญเสียที่อยู่อาศัย
5. การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
เมื่อได้ยินคำว่า เอเลี่ยน (Alien) เราคงจะนึกถึงภาพสิ่งมีชีวิตต่างดาว ที่มีหน้าตาแปลกๆแต่ในความจริงแล้วเรากลับพบเห็นเอเลี่ยนได้เกือบทุกวัน ไม่ผิดหรอกครับเป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะ เอเลี่ยน หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่อพยพ เข้ามาหรือที่เรารู้จักกันว่า ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species) ซึ่งเกิดขึ้นในที่ที่แตกต่างจากพื้นที่การแพร่กระจายตามธรรมชาติชนิดพันธุ์ต่างถิ่นบางชนิดแพร่ระบาดจนกลายเป็นรุกราน (invasive alien species) หมายถึงว่า ชนิดพันธุ์นั้นคุกคาม ระบบนิเวศแหล่งที่อยู่อาศัย
หรือชนิดพันธุ์อื่นๆ มีหลายปัจจัยที่มีผลเกื้อหนุนให้ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นตั้งรกรานและรุกรานในที่สุด
เป็นที่ทราบกันว่า อิทธิพลทางกายภาพและทางเคมีที่มนุษย์มีต่อระบบนิเวศได้เพิ่มโอกาสให้ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นกลายเป็นชนิดพันธุ์ที่แพร่ระบาดและรุกราน
เอเลี่ยน: สิ่งมีชีวิตต่าง (ถิ่น) ดาว??. (2552).
การบุกรุก รุกรานของมนุษย์ต่างดาว
6. การอ้างสิทธิบัตร
อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเผยคนไทยและต่างชาติรุมยื่นขอจดสิทธิบัตรสมุนไพรป้องกันโรคไข้หวัด 2009 มีทั้งฟ้าทลายโจร หอมแดง ขิง ขมิ้นชัน ไพรหญ้าวงช้าง...
รุมจดสิทธิบัตร สมุนไพร แก้ไขหวัด2009. (2552).
การอ้างสิทธความเป็นเจ้าของ

7. จีเอ็มโอหรือการตัดต่อพันธุกรรม

จีเอ็มโอ (GMOs : Genetically Modified Organism) คือสิ่งมีชีวิต ที่เกิดจากการนำยีน (gene) หรือสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตอื่นใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตที่ต้องการทำให้เกิดใหม่ตามลักษณะ หรือคุณสมบัติที่ต้องการ หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากพันธุ์ที่มีในธรรมชาติ วิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่า “พันธุวิศวกรรม” (Genetic Engineering) หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า การตัดแต่งยีน

จีเอ็มโอ คืออะไร. (2552).


www.bihap.org/th/main/content.php?page=sub...
การพัฒนาการของการตัดต่อพันธุกรรม


8. การค้าขายพืช สัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากป่าอย่างผิดกฎหมาย ในประเทศไทย



ในช่วง 2-3 ปีมานี้เราได้เห็นแล้วว่าโรคระบาดคร่าชีวิตอันเป็นผลจากการค้าสัตว์ป่า ได้กลายเป็นปัญหาเร่งด่วนที่คุกคามความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสุขอนามัยของคนทั่วโลก แมรี เพิร์ล เจ้าหน้าที่ประจำองค์กร Wildlife Trust แห่งสหรัฐอเมริกา แถลงในการรณรงค์ที่ประเทศอินเดีย เมื่อเดือนเมษายน 2547 ที่ผ่านมา
การแพร่ระบาดของโรคซาร์ส (SARS) ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจทั่วโลกไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาท เป็นเครื่องยืนยันที่สำคัญว่าการค้าสัตว์ป่าเป็นหนึ่งในตัวการที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคร้ายคร่าชีวิตชนิดใหม่ๆ เพราะมีหลักฐานยืนยันค่อนข้างแน่ชัดว่า เชื้อโรคซาร์ส มีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ป่าในกลุ่มชะมดที่ถูกจับมาจำหน่ายเพื่อการบริโภคในประเทศจีน เช่นเดียวกับกรณีของไข้หวัดนก ที่สันนิษฐานว่า ตลาดค้านกป่าอาจเป็นแหล่งกำเนิดเชื้อไวรัสอันตราย เพราะมีการจับนกในธรรมชาติมากักขังรวมกันอย่างหนาแน่นในสภาพแวดล้อมที่ผิดธรรมชาติ จึงเป็นโอกาสให้เชื้อไวรัสที่อยู่ในนกแต่ละชนิดแลกเปลี่ยนแปงลกลายพันธุ์เป็นเชื้อโรคที่อันตรายได้

การค้าสัตว์ป่าและโรคระบาดคร่าชีวิต. (2550).

www.dnp.go.th/.../columnAnimalView.aspx?id=15

การค้าสัตว์อย่างผิดกฎหมาย



2 ความคิดเห็น:

  1. การเรียนสัปดาห์ที่ 7 เมื่อวันอังคารที่ 15.12 2552 ได้ 2 คะแนน
    รูปที่ 1,3(ที่อยู่URLของบทความ)คลิกไม่ได้
    การอ้างสิทธความเป็นเจ้าของ ใช่สิทธ?
    รูปที่ 7 (คำอธิบายรูปภาพ) รูปอะไร? ที่อยู่URLของบทความไม่พบรูปที่นำเสนอ

    ตอบลบ